
จับตาดู! ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส อาจพุ่งชนโลก ใน 48 ปีข้างหน้า
มาไวกว่าเดิมแบบครึ่งต่อครึ่ง! สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย นักดาราศาสตร์ต่างจับตามอง ‘ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส’ 1 ใน 3 ของดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสพุ่งชนโลก ในรอบ 100 ปี
แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ให้การเปิดเผยถึงการเปลี่ยนของแปลงวงโคจรของอะโพฟิสว่าอาจะมีโอกาสพุ่งชนโลกประมาณวันที่ 12 เมษายน 2611 หรือประมาณ 48 ปีข้างหน้า
โดยดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นพบไปเมื่อปี 2004 ซึ่งดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล 3 สนาม และแต่เดิมนักวิทยาศาตร์ ระบุไว้ว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้จะมีโอกาสพุ่งชนโลกเพียงแค่ 2.4% เท่านั้น กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ได้ลดโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลกเหลือเพียง 0%

ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส อาจพุ่งชนโลก ใน 48 ปีข้างหน้า
Dave Tholen ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ประจำสถาบันดาราศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาวาย ผู้ที่ได้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสมามากกว่า 16 ปี ได้ทำการอธิบายผลสำรวจล่าสุดว่า ‘การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยเกิดจากการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ เรียกว่า ยาคอฟสกีเอฟเฟค ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสที่แต่เดิมได้มีอการคำนวณไว้ปีละ 170 เมตร ซึ่งมากพอที่จะมีโอกาสพุ่งชนโลกในปี 2611’ ซึ่งนั่นก็เกิดจากการที่ดาวเคราะห์น้อยเบี่ยงเส้นทางการเคลื่อนที่ และเร่งความเร็วขึ้นจากเดิม
ซึ่งดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส เป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเสี่ยงจะพุ่งชนโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากดาวเคราะห์น้อย 101955 เบนนู และดาวเคราะห์น้อย 1950 DA อย่างไรก็ตามองค์การนาซ่า ได้ระบุเพิ่มเติมไว้ว่า ‘แรงโน้มถ่วงของโลกอาจทำให้ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสที่เคลื่อนตัวห่างจากโลกราว 30,000 กิโลเมตร ทำให้เปลี่ยนทิศทางหรือส่งผลต่อพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยได้”
และการเข้าใกล้โลกในครั้งถัดไปของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส คือในวันที่ 13 เมษายน 2572 ซึ่งนั่นก็อาจจะทำให้สามารถมองเห็นดาวเคราะห์น้อยได้ด้วยตาเปล่า และนักดาราศาสตร์ต่างเฝ้ารอโอกาสนี้เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการคำนวณวงโคจรอย่างแม่นยำ และทำให้ทราบผลของแรงโน้มถ่วงและแสงอาทิตย์ที่มีผลต่อวงโคจรของอะโพฟิส
หากในปี พ.ศ. 2611 ดาวน้อยดวงนี้จะพุ่งชนโลกจริง ก็มีการคาดการณ์ว่าจะตกลงบริเวณพื้นที่แถบยุโรป และจะมีความรุนแรงของพลังระเบิดเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 1,200 ล้านตัน หรือมีความรุนแรงเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่นมากถึง 80,000 ลูก
ขอบคุณข้อมูลจาก : Sanook